วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

 

Recent    Posts  

 
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
 
Friday, October 3,2557
Time 13:00 to 16.40 pm
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
 
 
วัสดุอุกรณ์
 
 
ขั้นตอนการทำ 
 
 
นำแกนกระดาษทิสชู่มาตัดแบ่งครึ่ง  นำมาเจาะรูดังภาพ


  

 
ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม โดยวัดขนาดวงกลมจากแกนกระดาษทิสชู
  และวาดภาพตกแต่งให้สวยงาม
 

 
นำภาพที่วาดมาแปะ  ดังภาพ
 

 
 รอยไหมพรม  จากล่างขึ้นบน  จากบนลงล่าง ดังภาพ
 
 
วิธีการเล่น
 
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถเล่นได้หลายวิธี เช่น


แบบที่ 1
นำมาคล้องคอ  จับเชือก(ไหมพรม)ด้านล่าง  ทั้งซ้ายและขวา 
จับให้ตึงแล้วขยับขึ้นลงสลับกัน  
ผลที่เกิดขึ้นคือ  จะทำให้กระดาษทิชูวิ่งขึ้นลงไปมา


 
แบบที่ 2
จับเชือกให้เป็นลักษณะแนวตั้ง 
มือด้านขวาอยู่ข้างบนมือข้างซ้ายอยู่ข้างล่าง
มือที่อยู่ข้างบน(มือขวา)จับเชือกให้ตึง  แล้วค่อยๆปล่อยลงมาเบาๆ
ผลที่เกิดขึ้นคือ  ทำให้วิ่งลงมาในทางดิ่งลงมาตามเส้นเชือก
 

การนำเสนอบทความ

1.บทความเรื่อง...การพัมนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
นำเสนอโดย นายวรมิตร  สุภาพ ดูเพิ่มเติม
 
 
2.บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องแสงและเงา
นำเสนอโดย นางสาวกัญญารัตน์  หนองหงอก

 
การสอนลูกเรื่องแสงและเงา(Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ




แสงซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้
และเงาซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
- ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
- สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
- การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
-  แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
**ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
 จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย**

3.บทความเรื่อง...เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย 
นำเสนอโดยนางสาวณัชยา  ชาญณรงค์
 
 
  นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ?
          การเล่า นิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง
          นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา  เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม
          นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวังก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น  ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่าจะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด  ดูเพิ่มเติม
4.บทความเรื่อง... การสอนลูก เรื่องไฟฉาย
นำเสนอโดยนางสาวสุนิสา  บุดดารวม

 
 
                การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  ดูเพิ่มเติม
 
5.บทความเรื่อง...  สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
นำเสนอโดยนางสาวกันยารัตน์    ทุยเที่ยงสัตย์
 

 
                การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศและ มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้  ดูเพิ่มเติม
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
 
- การสอนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้เพราะเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนง่าย  ไม่ซับซ้อน  เด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง  วัสดุในการทำสามารถหาได้ง่าย
 
- จากการนำเสนอบทความของเพื่อน  การเล่านิทานสามารถเป็นสื่อที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก  เพราะการเล่านิทานสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส
 
การประเมิน(Evaluation)
ประเมินตนเอง(Self)
           
              เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน  ตั้งใจฟังการนำเสนอบทความของเพื่อนมีการจดบันทึกจับใจความสำคัญ   ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             
ประเมินเพื่อน(Friends)
 
              เพื่อนๆตั้งใจเรียน   เพื่อนนำเสนอบทความได้ดี   ช่วยกันแสดงความคิดเห็นโดยการตอบคำถามในการทำกิจกรรม             
ประเมินอาจารย์(Teachers)

              - อาจารย์มีเทคนิกการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้ดี  เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย  มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน  เด้กลงมือกระทำได้   ทำให้เด้กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้

             -  อาจารย์สรุปบทความของเพื่อนโดยการใช้คำถามให้นักศึกษามีส่วนร่วม  และอธิบายเพิ่มเติมโดยการยกตัวอย่างเกี่ยวกับในชีวิตประจำวัน  พื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
            


 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น