วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,Septer 12,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอบทความ

1.บทความเรื่อง...การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพื

2.บทความเรื่อง...วิทยาศาสตร์และการทดลอง

ไข่เอ๋ย...จงนิ่ม


อุปกรณ์   
1.แก้ว   1 ใบ
                2ไข่ไก่     1ฟอง
                3.น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง
               นำไข่ไก่ที่เตรียมใส่ลงไปในแก้วแล้วเทน้ำส้มสายชูใส่ลงไปให้ท่วมไข่ ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน แล้วเทน้ำส้มสายชูออก จากน้ำลองจับไข่ไก่ดู

สรุปผลการทดลอง
               น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก  สามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่เเข็ง   เมื่อถูกละลายหายไป  เปลือกไข่จึงนิ่ม
               ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริม ทั้ง   7 ทักษะ คือ
1.ทักษะการสังเกต (Obervation skills)
2.ทักษาการจำแนกประเภท (Classification skills)
3.ทักษะการวัด (Measurement skills)
4.ทักษะการสื่อความหมาย (Interpretive skills)
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space skills)
7.ทักษะการคำนวณ (Numeracy skills)


3.บทความเรื่อง...เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย  เทคนิคการเลือกนิทาน


                นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป  แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย  ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
               นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

               ดร. อุไรวาส  ปรีดีดิลก ฝากทิ้งท้ายว่า ในส่วนของคุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยนั้น ปกติใช้นิทานในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่อยากให้มองในการใช้นิทานเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เพียงด้านภาษาอย่างเดียว อยากให้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เยอะแยะแตกแขนงมากมายหลายสาขาวิชา สามารถใช้นิทานเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานเล็กๆ การทดลองเล็ก ๆ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้เกิดทักษะหลากหลาย

.....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้




นำเสนอบทความของเพื่อนเสร็จแร้ว  อาจารยืได้สอนเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง..ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย  สรุปได้ดังนี้




การนำไปประยุกใช้

  • ได้เรียนรู้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์  เช่นนำกิจกรรม ไข่เอ๋ย..จงนิ่ม  ไปจัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้กับเด็กๆได้
  • ได้เรียนรู้เทคนิคและการเลือกเล่านิทานที่ดีและถูกต้อง  อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปให้คำแนะนำแก่พ่อแม่  ผู้ปกครองที่มีความสนใจเกี่ยวกับการเล่านิทานได้

การประเมิน(Evaluation)

ประเมินตนเอง(Self)

              มาเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีความตั้งใจในการเรียน  ช่วยแสดงความคิดเห็น/หรือตอบคำถาม จากเพื่อนและอาจารย์

ประเมินเพื่อน(Friends)

              วันนี้เพื่อนมีความตั้งใจเรียน  ช่วยกันตอบคำถามจากี่อาจาย์สรุปบทความและเนื้อหาที่สอนได้ดี

ประเมินอาจารย์(Teachers)

              อาจารย์มีเทคนิกในการใช้คำถามถามนักศึกษา  เพื่อเช็คว่านักศึกษาเข้าใจหรือไม่  เข้าใจอย่างไร   เช่นการใช้คำถามถามเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับบทความของเพื่อนๆแต่ละคน  แล้วนำมาอธิบายเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น