Recent Posts
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday,Saptember 26,2557.
ตัดกระดาษออกเป็น 3 ส่วน ส่วนละเท่าๆกัน ใช้เพียง 1 ส่วนเท่านั้น
จากนั้นนำมาพับครึ่ง 1 ครั้ง
แล้วก็พับครึ่งอีก 1 ครั้ง แล้วตัดตรงกลางของปลายกระดาษทางขวามือ
พับกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมา 1 เซนติเมตร
แล้วนำคลิปมาหนีบไว้
มีลักษณะดังภาพ
อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์เสร็จแล้วออกไปทดลองโยน โยนทีละแถวแล้วให้สังเกตว่า เมื่อโยนแล้วมีลักษณะอย่างไร
เกณฑ์การตัดกระดาษ
แถวที่ 1-2 ตัดปลายกระดาษขึ้นมาถึงเกือบชิดขอบ เมื่อออกไปโยนแล้วผลปรากฏว่า หมุนตกลงมา
แถวที่ 3-4 ตัดปลายกระดาษเพียงครึ่งเดียว เมื่อออกไปโยนแล้วผลปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่หมุน
เกิดข้อสงสัยว่า
ทำไมเกิดการหมุน และไม่หมุน นำมาเปรียบเทียบข้อสงสัยพบว่า ต่างกันที่ปีกของกระดาษ ฉะนั้นให้แถวที่ 3-4 ตัดปลายกระดาษเพิ่มขึ้นมาอีก แล้วให้ออกไปโยนอีกครั้ง พบว่าเกิดการหมุนเหมือนกันกับแถวที่ 1-2
การที่เราโยนขึ้นแล้วเกิดการหมุนเกิดจาก
- แรงโน้มถ่วงของโลก
- การที่เราตัดกระดาษแล้ว พับกางออกเป็นปีก ปีกนั้นจะช่วยต้านอากาศ อากาศจะไปหมุนรองอยู่ใต้ปีกทำให้เกิดการหมุนนั่นเอง
1.บทความเรื่อง...วิทยาศาสตร์กับการทดลอง
สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น
ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มี
ความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด)
เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่าง
กินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้
1.
ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน) 15 ดอก
2. นำร้อน
3.
ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก
น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง
นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่
จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ
และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ
ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์
บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ
แล้วคนให้เข้ากัน
สรุปผลการทดลอง
น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้
โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว
2.บทความเรื่อง...วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า
ทำไม
อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่
เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า
เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง
เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์
เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้
พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ
การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์
เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์
ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด
ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น
รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม
นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง
ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์
เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ
ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร
เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง
รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร
มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น
หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น
ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน
ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ
กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก
และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ
เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง
จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย
5.บทความเรื่อง...ฝึกการสังเกต นำลูกไปสู่วิทยาศาสตร์ (บทความของดิฉัน)
ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา
เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด
หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา
จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่ ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา
ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต (Observation)
หมายถึง
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น
และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ
ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ
แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น
การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด
หน่วย..ปลา หน่วย..ผีเสื้อ หน่วย..กะหล่ำปลี หน่วย..ไก่
การนำไปประยุกใช้การเรียนการสอน
1.กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ เมื่อนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราควรคำนึง คือ
- การเลือกเรื่องที่จะนำมาสอน ควรเลือกเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวันที่เด็กเคยพบเจอ
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ควรมีอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่าย หรืออาจจะใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้ มีความปลอดภัยสำหรับเด็ก
- ขั้นตอนการทำ ควรเป็นขั้นตอนที่ที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
2. จากการนำเสนอบทความของเพื่อน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เราอาจจะเปลี่ยนแปลงวัสดุ หรืออุกรณ์ เพื่อให้เกิดเทคนิกการสอนที่แปลกใหม่ ดึงดูดความสนใจของเด็ก
3.การเขียนแผนการสอนโดยการสรุปเป็นมายแม๊บ เป็นสิ่งที่ดีและครูต้องกระทำเพื่อเป็นการวางแผนการสอนในชั้นเรียน
การประเมิน(Evaluation)
ประเมินตนเอง(Self)
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ช่วยตอบคำถามและเเสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่างๆ ดิฉันต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องการเขียนในหน่วยส้ม ดิฉันเขียนผิดจากคำว่า สีเขียว เขียนเป็น สีเขียน เขียนผิด ความหมายเปลี่ยน
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ช่วยตอบคำถามและเเสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่างๆ ดิฉันต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องการเขียนในหน่วยส้ม ดิฉันเขียนผิดจากคำว่า สีเขียว เขียนเป็น สีเขียน เขียนผิด ความหมายเปลี่ยน
ประเมินเพื่อน(Friends)
เพื่อนๆตั้งใจเรียน นำเสนอบทความดี ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกัน แต่กลุ่มกลุ่มตั้งใจทำแผนการสอนได้ดีมาก สวยงาม มีเนื้อหารายละเอียดดี
ประเมินอาจารย์(Teachers)เพื่อนๆตั้งใจเรียน นำเสนอบทความดี ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกัน แต่กลุ่มกลุ่มตั้งใจทำแผนการสอนได้ดีมาก สวยงาม มีเนื้อหารายละเอียดดี
อาจารย์มีเทคนิกการสอนที่ดี โดยการนำสื่อมาให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำ มีการใช้คำถามในทุกกิจกกรมเพื่อตรวจสอบว่านักศึกษาเข้าใจหรือไม่ และได้อธิบายเพิ่มเติมได้เข้าใจมากขึ้น และได้ให้คำแนะนำและเทคนิกเพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ในการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น