วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,September19,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.



ความรู้ที่ได้รับ


กิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมที่ 1 


อาจารย์นำสื่อชิ้นนี้มาให้นักศึกษาได้ลองสังเกตดูว่า  สื่อชิ้นนี้มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร? 
ตอบ  มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาสาสตร์เรื่องแสง  สังเกตได้ว่าเมื่อมีแสงผ่านเข้ามาจะทำให้สามารถมองเห็นลูกปิงปองได้

กิจกรรมที่ 2

อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์มีดังนี้


ขั้นตอนการทำ




ให้นักศึกษาตัดกระดาษ 1 แผ่นต่อ 4 คน  คนละเท่าๆกัน

จากนั้นแบ่งกระดาษเป็น 2 ส่วน  แล้ววาดภาพอะไรก็ได้




















วาดภาพทั้งด้านซ้ายและด้านขวา  ภาพทั้ง 2 ต้องมีความสัมพันธ์กัน ดังภาพ


นำไม้ตะเกียบมาวางบริเวณกึ่งกลางด้านในของกระดาษแล้วติดด้วย Scotch   tape  
ทับบนไม้ให้แน่นพอ  เพื่อเวลาหมุนจะได้ไม่หลุด


ทดลองหมุนก็จะได้ภาพประมาณนี้

สรุป   เมื่อหมุนภาพแล้ว   ภาพที่วาดมองเห็นเป็นภาพเดียวกัน  เพราะว่าความเร็วเมื่อหมุนภาพมีความสัมพันธ์กันระหว่างความเร็วกับภาพ เลยมองเห็นเป็นภาพเดียวกัน

การนำเสนอบทความ

1.บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องปรากฏการธรรมชาติ (Natural phenomena)


                         ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน
เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
1.ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
2.ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
3.การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
4.การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
5.ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้


2.บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องสัตว์(Animals)



                          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน


3.บทความเรื่อง...ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ (สรุปตามความเข้าใจของตนเอง)

ศิลปะกับ วิทยาศาสตร์ต่างก็มีนิยามมากมายและแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่ที่แน่ๆ ศิลปะ คือ ความไม่ตรงในขณะที่วิทยาศาสตร์ต้อง เที่ยงตรงศิลปะต้องสื่อสารด้วยความหมายอ้อมๆ แต่ต้องแผงไว้ด้วยความงดงาม ในขณะที่วิทยาศาสตร์ต้องนำเสนอเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแบบตรงไปตรงมา การใช้ชีวิตด้วยความพอดีก็คือการนำศาสตร์ทั้งสองมาประยุกต์ใช้ให้ลงตัว


วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

สรุปองค์ความรู้ได้ดังนี้




การนำไปประยุกใช้การเรียนการสอน

จากกิจกรรมที่ 2 การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์  เวลานำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กควรมีอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่าย  มีขั้นตอนการทำที่ง่ายเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย  ให้เด็กได้ลงมือกระทำตามความสามารถของตนเอง  ทำให้เด็กได้ทักษะกระบวนการในการสร้างชิ้นงาน

การประเมิน(Evaluation)

ประเมินตนเอง(Self)
  
            มีความพร้อมในการเรียน  ตั้งใจ  ทำกิจกรรมไปพร้อมๆกับเพื่อน  ชอบสื่อที่อาจารย์นำมาให้ประดิษฐ์เพราะว่าเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย  

ประเมินเพื่อน(Friends)

            เพื่อนส่วนใหญ่มีความตั้งใจเรียน  และช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในแต่ละกิจกรรม  แต่มีส่วนน้อยที่ชอบเล่นโทรศัพท์ในขณะที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์(Teachers)

            อาจาร์มีเทคนิกการสอนที่ดีโดยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ นำมาสอนให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้   อาจารย์ใช้เพลงเป็นสือที่สามารถนำเข้าสู่บทเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในหัวข้อต่อไปและมีการอธิบายให้เข้าได้ดียิ่งขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น