Recent Posts
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday,September 5,2557.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นการนำเสนอบทความเป็นสัปดาห์แรก นำเสนอสัปดาห์ละ 5 คน โดยจะเริ่มจากเลขที่ 1-5 โดยมีบทความทั้งหมดดังนี้
- การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- สอนลูกเรื่องพีช(Plants)
- 5 แนวทางการสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
บทความ
1.บทความเรื่อง...การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป |
ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศ
ที่อยู่รอบๆตัวเรา
อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่
อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS สนุกกับการทายเสียง
สัตว์ชนิดต่างๆ
รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกาย
ของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง
การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสี
ด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา
และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจาก
แบบจำลอง
ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการ
มองผ่าน “ แว่นขยาย ”
KEEP IN TOUCH เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็น
อันตรายได้ถ้าเราสัมผัส
และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน
และเดินทางผ่านอากาศ
ในรูปของคลื่น
สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนตร์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ
แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่าน
กระดาษสีต่างๆ
ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบ
สุริยะจักรวาล
เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย
การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำ
3. บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องพีช(Plants)
มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับพืชตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงตลอดชีวิต
เนื่องจากต้องพึ่งพาและใช้ประโยชน์จากพืชในการดำรง ชีวิต มนุษย์ต้องกินข้าว กินผัก
และผลไม้เป็นอาหาร มนุษย์สร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยจากต้นไม้
ใช้ไม้ทำเครื่องเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
พืชบางชนิดมีคุณสมบัติในทางยาที่มนุษย์นำมาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
ต้นไม้ให้ร่มเงาและให้ก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่บริสุทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
ต้นไม้ใหญ่บนภูเขาสามารถกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ
ทำให้เกิดเป็นน้ำตกอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้
ต้นไม้นำมาทำเป็นเรือแพซึ่งเป็นยานพาหนะในการเดินทางของมนุษย์
มนุษย์ใช้กระดาษที่ผลิตมาจากเยื่อไม้ต่างๆ
และมนุษย์ใช้ถ่านไม้ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้มาจากต้นไม้ พืชจึงเป็นสิ่ง แวด
ล้อมที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์
และมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุดอย่างหนึ่ง
เพราะพืชเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย
เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
การคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
ทำให้มีความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรมากยิ่งขึ้น
มีผลทำให้พืชซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญมีปริมาณลดลง
ส่งผลกระทบโดยรวมต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ ดังนั้น
การให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องพืชจึงมีความสำคัญทั้งในด้านที่พืชเป็นทั้งปัจจัยสี่
และพืชเป็นทรัพยากรที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้ใช้ได้นานให้มากที่สุด
ดังที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) มาตรา 7 ระบุว่า
ในการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวจึงควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งการปลูกพืชจะทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิต
การเลี้ยงดู ประโยชน์ และคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
4. บทความเรื่อง...5แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
วิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด
เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น
ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
ดร. วรนาท รักสกุลไทย
นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า
"เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด
แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ
สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก
เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้วนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้วนักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ
"สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง
ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ
เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง
ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน
ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
การนำไปประยุกใช้
จะนำความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอบทความของเพื่อนสามารถนำจัดกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การประเมิน(Evaluation)
ประเมินตนเอง(Self)
ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังการนำเสนอบทความของเพื่อน ตั้งใจจดเนื้อหารายละเอียดจากที่อาจารย์และมีความเข้าใจในการสรุปองค์ความรู้ด้วย mind map มากขึ้น
ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังการนำเสนอบทความของเพื่อน ตั้งใจจดเนื้อหารายละเอียดจากที่อาจารย์และมีความเข้าใจในการสรุปองค์ความรู้ด้วย mind map มากขึ้น
ประเมินเพื่อน(Friends)
การนำเสนอบทความของเพื่อนวันนี้ มีเนื้อหารายละเอียดดี ช่วยกันตอบคำถามจากที่อาจารย์สรุปบทความของเพื่อนแต่ละคนได้
ประเมินอาจารย์(Teachers)
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคในการสรุปเนื้อหาให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย
การนำเสนอบทความของเพื่อนวันนี้ มีเนื้อหารายละเอียดดี ช่วยกันตอบคำถามจากที่อาจารย์สรุปบทความของเพื่อนแต่ละคนได้
ประเมินอาจารย์(Teachers)
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคในการสรุปเนื้อหาให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น