วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday, October 18,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm



ความรู้ที่ได้รับ : เรียนชดเชย


 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

*    เด็กจะตอบตามที่เด็กเห็น เด็กจะใช้เหตุผล  ขั้นที่เด็กบอกเหตุผลก็ต่อเมื่อขั้นการอนุรักษ์
 
*    การทดลอง
 
-     เนื้อเรื่องไม่จำเป็นต้องนำมาทดลอง  สามารถนำเรื่องอื่นมาทดลองก็ได้  แต่ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่
 
จะสอน  เช่น หน่วยส้ม  นำกระจกมาวางแล้วนำส้มออกมา  ให้เด็กสังเกตว่า  เด็กเห็นส้มกี่ผล  ถ้า
 
กางกระจกออกจะเห็นส้มกี่ผล   สามารถสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเรื่องการสะท้อนผ่านกระจก
 
-     การทดลองจะต้องให้เด็กเห็นถึงกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์
 
*    กิจกรรม 6  กิจกรรมหลัก
 
-     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จะต้องมีความสอดคล้องกับทักาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 
-     กิจกรรมเกมการศึกษาให้เขียนเป็นตัวอย่างเท่านั้น


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

            เริ่มเข้าใจมากขึ้นในบางส่วน   แต่บางส่วนก็ยังไม่เข้าใจ   ฉะนั้นต้องตั้งใจฟังและจดบันทึกจับใจ

ความสำคัญจากที่อาจารย์อธิบาย

ประเมินเพื่อน

            เพื่อนๆทุกคนตั้งใจมาเรียนชดเชย 

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์ได้ยกตัวอย่างและได้ให้คำแนะนำในการทดลอง   เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในแผนการ

สอนของตนเอง


บันทึกอนุทินครงที่ 9


Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday, October 17,2557
Time 13:00 to 16.40 pm

ความรู้ที่ได้รับ


 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์


-  การเลือกหัวเรื่อง (หน่วยที่จะสอน)ต้องคำนึงถึงบริบทและสภาพแวดล้อม  ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก

 บุคคล เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย  สถานที่  เช่น  บ้าน  โรงเรียน  วัด   และธรรมชาติรอบตัวเด็ก

- ไม่เน้นเนื้อหา    แต่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-  วิธีการเรียนรู้   ประสบการณ์เดิม +  ประสบการณ์ใหม่  = ความรู้ใหม่

-   การวัดและประเมินผล    (เด็กรู้)  ไม่สามารถวัดได้

  การประเมินผล 

ประเมินตนเอง

            ต้งใจเรียน  และจดบันทึกจับใจความสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอน  และ

ต้องกลับไปทบทวนและทำความเข้าใจ  และหาความรู้เพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน

             เพื่อนตั้งใจฟังและช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

ประเมินอาจารย์

             อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี   โดยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิด

และหาคำตอบร่วมกันในหัวข้อเรื่องแผนการจัดประสบการณ์




บันทึกอนุทินครังที่ 8


Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
 
Friday, October 10,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm
 

Midterm....






บทความ


Article

ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์


                 ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่ ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา

                 ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด  ดูเพิ่มเติม
 
 

 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

 

Recent    Posts  

 
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
 
Friday, October 3,2557
Time 13:00 to 16.40 pm
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
 
 
วัสดุอุกรณ์
 
 
ขั้นตอนการทำ 
 
 
นำแกนกระดาษทิสชู่มาตัดแบ่งครึ่ง  นำมาเจาะรูดังภาพ


  

 
ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม โดยวัดขนาดวงกลมจากแกนกระดาษทิสชู
  และวาดภาพตกแต่งให้สวยงาม
 

 
นำภาพที่วาดมาแปะ  ดังภาพ
 

 
 รอยไหมพรม  จากล่างขึ้นบน  จากบนลงล่าง ดังภาพ
 
 
วิธีการเล่น
 
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถเล่นได้หลายวิธี เช่น


แบบที่ 1
นำมาคล้องคอ  จับเชือก(ไหมพรม)ด้านล่าง  ทั้งซ้ายและขวา 
จับให้ตึงแล้วขยับขึ้นลงสลับกัน  
ผลที่เกิดขึ้นคือ  จะทำให้กระดาษทิชูวิ่งขึ้นลงไปมา


 
แบบที่ 2
จับเชือกให้เป็นลักษณะแนวตั้ง 
มือด้านขวาอยู่ข้างบนมือข้างซ้ายอยู่ข้างล่าง
มือที่อยู่ข้างบน(มือขวา)จับเชือกให้ตึง  แล้วค่อยๆปล่อยลงมาเบาๆ
ผลที่เกิดขึ้นคือ  ทำให้วิ่งลงมาในทางดิ่งลงมาตามเส้นเชือก
 

การนำเสนอบทความ

1.บทความเรื่อง...การพัมนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
นำเสนอโดย นายวรมิตร  สุภาพ ดูเพิ่มเติม
 
 
2.บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องแสงและเงา
นำเสนอโดย นางสาวกัญญารัตน์  หนองหงอก

 
การสอนลูกเรื่องแสงและเงา(Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ




แสงซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้
และเงาซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
- ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
- สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
- การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
-  แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
**ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
 จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย**

3.บทความเรื่อง...เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย 
นำเสนอโดยนางสาวณัชยา  ชาญณรงค์
 
 
  นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ?
          การเล่า นิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง
          นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา  เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม
          นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวังก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น  ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่าจะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด  ดูเพิ่มเติม
4.บทความเรื่อง... การสอนลูก เรื่องไฟฉาย
นำเสนอโดยนางสาวสุนิสา  บุดดารวม

 
 
                การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  ดูเพิ่มเติม
 
5.บทความเรื่อง...  สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
นำเสนอโดยนางสาวกันยารัตน์    ทุยเที่ยงสัตย์
 

 
                การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศและ มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้  ดูเพิ่มเติม
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
 
- การสอนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้เพราะเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนง่าย  ไม่ซับซ้อน  เด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง  วัสดุในการทำสามารถหาได้ง่าย
 
- จากการนำเสนอบทความของเพื่อน  การเล่านิทานสามารถเป็นสื่อที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก  เพราะการเล่านิทานสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส
 
การประเมิน(Evaluation)
ประเมินตนเอง(Self)
           
              เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียน  ตั้งใจฟังการนำเสนอบทความของเพื่อนมีการจดบันทึกจับใจความสำคัญ   ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อ
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             
ประเมินเพื่อน(Friends)
 
              เพื่อนๆตั้งใจเรียน   เพื่อนนำเสนอบทความได้ดี   ช่วยกันแสดงความคิดเห็นโดยการตอบคำถามในการทำกิจกรรม             
ประเมินอาจารย์(Teachers)

              - อาจารย์มีเทคนิกการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้ดี  เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย  มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน  เด้กลงมือกระทำได้   ทำให้เด้กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้

             -  อาจารย์สรุปบทความของเพื่อนโดยการใช้คำถามให้นักศึกษามีส่วนร่วม  และอธิบายเพิ่มเติมโดยการยกตัวอย่างเกี่ยวกับในชีวิตประจำวัน  พื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
            


 
 
 

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

Recent    Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,Saptember  26,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.



ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

วัสดุอุกรณ์มีดังนี้


ขั้นตอนการทำ

    


ตัดกระดาษออกเป็น 3 ส่วน  ส่วนละเท่าๆกัน  ใช้เพียง 1  ส่วนเท่านั้น



จากนั้นนำมาพับครึ่ง 1 ครั้ง  
แล้วก็พับครึ่งอีก 1 ครั้ง   แล้วตัดตรงกลางของปลายกระดาษทางขวามือ


พับกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมา 1 เซนติเมตร 
แล้วนำคลิปมาหนีบไว้


มีลักษณะดังภาพ

ทดลองการหมุน    

          อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์เสร็จแล้วออกไปทดลองโยน  โยนทีละแถวแล้วให้สังเกตว่า  เมื่อโยนแล้วมีลักษณะอย่างไร

เกณฑ์การตัดกระดาษ    

แถวที่ 1-2  ตัดปลายกระดาษขึ้นมาถึงเกือบชิดขอบ   เมื่อออกไปโยนแล้วผลปรากฏว่า  หมุนตกลงมา
แถวที่ 3-4  ตัดปลายกระดาษเพียงครึ่งเดียว    เมื่อออกไปโยนแล้วผลปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่หมุน

เกิดข้อสงสัยว่า  
         ทำไมเกิดการหมุน และไม่หมุน   นำมาเปรียบเทียบข้อสงสัยพบว่า  ต่างกันที่ปีกของกระดาษ  ฉะนั้นให้แถวที่ 3-4 ตัดปลายกระดาษเพิ่มขึ้นมาอีก แล้วให้ออกไปโยนอีกครั้ง พบว่าเกิดการหมุนเหมือนกันกับแถวที่ 1-2   

การที่เราโยนขึ้นแล้วเกิดการหมุนเกิดจาก  
  • แรงโน้มถ่วงของโลก   
  • การที่เราตัดกระดาษแล้ว  พับกางออกเป็นปีก  ปีกนั้นจะช่วยต้านอากาศ  อากาศจะไปหมุนรองอยู่ใต้ปีกทำให้เกิดการหมุนนั่นเอง

การนำเสนอบทความ

1.บทความเรื่อง...วิทยาศาสตร์กับการทดลอง


สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มี
ความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่าง
กินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้        
1.      ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน)  15 ดอก
2.      นำร้อน
3.      ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง
นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ
ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน
สรุปผลการทดลอง
            น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว

2.บทความเรื่อง...วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                  เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

3.บทความเรื่อง...การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย


4.บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องอากาศ


                   เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย

5.บทความเรื่อง...ฝึกการสังเกต  นำลูกไปสู่วิทยาศาสตร์ (บทความของดิฉัน)


               ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่  ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ  สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้  สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา

               ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป  จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง  และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด



กิจกรรมแผนการสอน  หน่วยต่างๆ



หน่วย..กบ      หน่วย..แปรงสีฟัน            หน่วย..ดอกมะลิ



หน่วย..ปลา          หน่วย..ผีเสื้อ          หน่วย..กะหล่ำปลี       หน่วย..ไก่

หน่วย..ส้ม(กลุ่มของดิฉัน)
  



แก้ไข/เพิ่มเติม  แผนการสอนหน่วยส้ม



 
การนำไปประยุกใช้การเรียนการสอน

      1.กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์  เมื่อนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราควรคำนึง  คือ

  • การเลือกเรื่องที่จะนำมาสอน  ควรเลือกเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวันที่เด็กเคยพบเจอ
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ  ควรมีอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่าย  หรืออาจจะใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้   มีความปลอดภัยสำหรับเด็ก
  • ขั้นตอนการทำ   ควรเป็นขั้นตอนที่ที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน  เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
      2. จากการนำเสนอบทความของเพื่อน  สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เราอาจจะเปลี่ยนแปลงวัสดุ  หรืออุกรณ์ เพื่อให้เกิดเทคนิกการสอนที่แปลกใหม่  ดึงดูดความสนใจของเด็ก

      3.การเขียนแผนการสอนโดยการสรุปเป็นมายแม๊บ  เป็นสิ่งที่ดีและครูต้องกระทำเพื่อเป็นการวางแผนการสอนในชั้นเรียน


การประเมิน(Evaluation)

ประเมินตนเอง(Self)
                   
              มาเรียนตรงเวลา   ตั้งใจเรียน  ช่วยตอบคำถามและเเสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่างๆ  ดิฉันต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องการเขียนในหน่วยส้ม  ดิฉันเขียนผิดจากคำว่า สีเขียว  เขียนเป็น  สีเขียน  เขียนผิด  ความหมายเปลี่ยน  

ประเมินเพื่อน(Friends)

              เพื่อนๆตั้งใจเรียน   นำเสนอบทความดี  ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกัน  แต่กลุ่มกลุ่มตั้งใจทำแผนการสอนได้ดีมาก  สวยงาม  มีเนื้อหารายละเอียดดี

ประเมินอาจารย์(Teachers)
               
             อาจารย์มีเทคนิกการสอนที่ดี  โดยการนำสื่อมาให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำ  มีการใช้คำถามในทุกกิจกกรมเพื่อตรวจสอบว่านักศึกษาเข้าใจหรือไม่  และได้อธิบายเพิ่มเติมได้เข้าใจมากขึ้น  และได้ให้คำแนะนำและเทคนิกเพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ในการเรียนการสอน