วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday, November 8,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์



Group 1 : หน่วย...กบ


 
 
ส่วนประกอบของกบ
 
ขั้นนำ
ถามประสบกาณ์เดิมของเด็กที่เกี่ยวกับเรื่องกบ
ขั้นสอน 
1. ร้องเพลงกบ
กบ  กบ  กบมันมีสี่ขา     ขาหลังกะโดดขึ้นมา      มันแลบลิ้นแพร่บๆ
2.ครูถามเด็กเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลง

 
Group 2 : หน่วย.กะหล่ำปลี

ประโยชน์ของกะหล่ำปลี
 
ขั้นนำ  ใช้วิธีการเก็บเด็กด้วยการปรบมือเป็นจังหวะ
ขั้นสอน   ร้องเพลง  กะหล่ำปลี และเล่านิทานเรื่องคนสวนขายกะหล่ะปลี
เพลง..กะหล่ำปลี
ขาว  ขาว  ขาว                       หนูเคยเห็นบ้างรึเปล่า
เอ๊ะ มัน คือ กะหล่ะปลี            ดูซิ  ดูซิ  น่าลองจัง
หวาน  หวาน กรอบ  กรอบ     สีสวยดี  ทำอาหารน่ากิน
*จากนั้นครูถามเด็กว่ากะหล่ำปลีมีประโยชน์อย่างไร
 
 
Group 3 : หน่วยส้ม
 

 
ประโยชน์ของส้ม(นำมาประกอบอาหาร น้ำส้มคั้น)
 
ชั้นนำ  โดยเพลง  ตบมือเปาะแปะ  เรียกแพะเข้ามา  แพะไม่มา  ปิดประตูรูดซิบ
ชั้นสอน 
1.บอกวัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำส้ม
2.ครูสาธิตและบอกขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้น
3.ครูให้เด็กออกมาทำน้ำส้มคั้น
ขั้นสรุป
ครูและเด็กทบทวนขั้นตอนในการทำน้ำส้มคั้น
 



 
Group 4 : หน่วย..ดอกมะลิ

 
ประโยชน์ของดอกมะลินำมาประกอบอาหาร (Cooking)
 
ขั้นนำ  ครูบอกวัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบในการทำดอกมะลิชุปแป้งทอด
ขั้นสอน ครูบอกขั้นตอนและสาธิตการทำดอกมะลิชุปแป้งทอด  ครูใช้คำถามให้เด็กสังเกตและเกิดกระบวนการคิด เช่น เมื่อนำดอกมะลิไปทอดแล้วจะมีสีเป็นอย่างไรคะ  เพราะอะไร
 
 
Group 5 : หน่วย..ไก่

การดูแลรักษาไก่

ขั้นนำ  คำคล้องจองเกี่ยวกับไก่และให้เพื่อนออกมาเต้น
กอไก่กุ๊กกุ๊ก           เช้าอยู่ทุ่งนา
สายอยู่ทุ่งหญ้า     ทั้งเขี่ยอาหาร
รวมทั้งพืชผัก        ข้าวเปลือกข้าวสาร
ที่เป็นอาหาร         ทั้งหนอนไส้เดือน
แล้วทุกหกเดือน   ต้องฉีดวัคซีน
เพื่อป้องกันโรค    ให้ไก่แข็งแรง
ขั้นสอน ครูใช้คำถามเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก
 
 
Group 6 : หน่วย..ปลาทู

 
ประโยชน์ของปลาทู

ขั้นนำ   บอกวัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบในการทอดปลาทู
ขั้นสอน  ครูสาธิตขั้นตอนการทำและให้เด็กออกมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
 
 

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

             กิจกรรมวันนี้มีความสนุกสนานมากคะ  เพราะได้สังเกตจากการสอนในสถานการณ์จริง   เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอได้ดีมีความน่าสนใจ
ประเมินเพื่อน

              เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีความพร้อมในการสอบ   อาจจะมีบางกลุ่มที่ยังไม่ได้สอบเพราะเนื่องมาจากการสื่อสารไม่ตรงกัน
ประเมินอาจารย์

             อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิกการสอน  สรุปในภาพรวมของทุกกลุ่ม  ดังนี้

-  ครูต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดการสังเกตและกระบวนการคิด

-  กระบวนการสอนจะต้องมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่จะสอน

-  คำพูดของเด็กครูมีการบันทึกเสมอ

-  ขั้นตอนการสอนควรมีขั้นตอนที่ง่ายๆเด็กสามารถทำได้

-  การประกอบอาหาร  ควรแยะวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำเด้กมีส่วนร่วมในกิจกรรม

 
 

ชื่อวิจัย   ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

 

THE   EFFECT   OF  NATURAL   COLOR  LEARNING  ACTIVITES  ON  YOUNG  CHILDREN   SCIENTIFIC    BASIC   SKILLS
 
ชื่อผู้วิจัย   ยุพาภรณ์  ชูสาย    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความมุ่งหมายของการวิจัย
 1.เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
ความสำคัญของการวิจัย
           ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์   นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
 ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย
         เด็กปฐมวัย  ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี  ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จังหวัดเพชรบูรณ์
ตัวแปรที่ศึกษา
1.ตัวแปรอิสระ   ได้แก่    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม  คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ ได้แก่
2.1 ทักษะการสังเกต
2.2 ทักษะการจำแนกประเภท
2.3 ทักษะการหามิติสัมพันธ์
2.4 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
สมมุติฐานการวิจัย
           เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ  มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
วิธีการดำเนินการวิจัย
 1.เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียน 6 ห้อง  โดยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน ได้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน
2.จากกลุ่มตัวอย่างในข้อ 1  สุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง  ด้วยการจับฉลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 1.ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ   เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ   หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2.หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้งโดยรวมรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 

 ขวดดูดไข่ได้อย่างไร

 
 
            ในขวดจะมีอากาศออกซิเจน  เมื่อจุดไฟแล้วนำไปใส่ในขวด  ไฟเผาเอาออกซิเจนในอากาศข้างในก็หายไป  จากนั้นนำไข่มาวางบนขวดก็จะเกิดแรงดันอากาศ  การสร้างความสมดุลข้างในกับข้างนอกให้เท่ากันมันก็จะดันไข่ลงไปในขวด
 
            ออกซิเจน ช่วยให้ไฟติดได้เพราะแก๊สออกซิเจนมีสมบัติใส  ไม่มีกลิ่น ช่วยให้ไฟติดและตัวเองไม่ติดไฟ    แก๊สออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเผาไหม้  ถ้าทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิงก็จะเกิดการถูกไหม้และจะทำให้เกิดพลังงานความร้อนออกมา ถ้าไม่มีออกซิเจนก็ทำให้การเผาไหม้เกิดขึ้นไม่ได้ตรงกันข้ามกับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีคุณสมบัติทำให้ไฟดับ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น